เรามีสูตรเด็ด เคล๋บลับต่างๆ มานำเสนอ

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กินเจอย่างไรให้้ถูกหลัก

นับถอยหลังเข้าสู่เทศกาลกินเจอีกแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงตั้งใจจะทาน "อาหารเจ" กันในปีนี้ ว่าแต่ "อาหารเจ"จริง ๆ แล้วอะไรที่เราทานได้ และทานไม่ได้บ้าง วันนี้กระปุกดอทคอม มาแนะนำการกินเจที่ถูกวิธีให้ฟังกัน

สำหรับ อาหารเจ เราจะทานในระหว่างเทศกาลกินเจ คือช่วงระหว่างวันขึ้น 1-9 ค่ำเดือน 8 (ตามปฏิทินจีน) ซึ่งตรงกับประมาณเดือนตุลาคม มีระยะเวลาประมาณ 10 วัน โดยมีความเชื่อว่า หากใครกินเจจะได้บุญ ส่งผลให้ชีวิตประสบความสุขความเจริญ ทั้งเป็นการต่อชีวิตให้ยืนยาวต่อไปด้วย หรือในบางคนอาจจะทาน "อาหารเจ" เป็นกิจวัตรประจำวันก็ได้

แน่ นอนว่า เมื่อพูดถึงอาหารเจ เราต้องหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ทุกชนิด และปรุงอาหารด้วยแป้ง เต้าหู้ ซีอิ๊ว ถั่วเหลือง ถั่วต่าง ๆ รวมทั้งผักนานาชนิด ยกเว้น ผักฉุน 5 ประเภท ที่เป็นผักรสหนัก มีกลิ่นเหม็นคาวรุนแรง ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ และยังมีพิษทำลายพลังธาตุทั้ง 5 ในร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ นั่นก็คือ

1.กระเทียม ทั้งหัวกระเทียม ต้นกระเทียม ส่งผลกระทบต่อธาตุไฟของร่างกาย แม้ว่ากระเทียมจะมีสารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล แต่กระเทียมมีความระคายเคืองสูง อาจไปทำลายการทำงานของหัวใจได้ ผู้เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือโรคตับ ไม่ควรรับประทานมาก

2.หัวหอม รวม ไปถึงต้นหอม ใบหอม หอมแดง หอมขาว หอมหัวใหญ่ ซึ่งตามหลักการแพทย์โบราณของจีนเชื่อว่า หัวหอม จะกระทบกระเทือนต่อธาตุน้ำในร่างกาย และไปทำลายการทำงานของไตได้ แม้ว่าหอมแดง จะมีฤทธิ์ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้ปวดประจำเดือน แต่ไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ ได้ง่าย รวมทั้งนัยน์ตาพร่ามัว มีกลิ่นตัว

3.หลักเกียว หรือที่รู้จักว่า กระเทียมโทนจีน ลักษณะคล้ายหัวกระเทียมที่พบเห็นทั่วไป แต่จะมีขนาดเล็กและยาวกว่า ในทางการแพทย์ของจีนเชื่อว่า หลักเกียว ส่งผลกระทบกระเทือนต่อธาตุดินในร่างกาย และไปทำลายการทำงานของม้าม

4.กุยช่าย เชื่อกันว่า กุยช่าย จะไปกระทบกระเทือนต่อธาตุไม้ในร่างกาย และทำลายการทำงานของตับ

5.ใบยาสูบ ไม่ว่าจะเป็นยาเส้น บุหรี่ ของเสพติดมึนเมา อะไรต่าง ๆ จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อธาตุโลหะในร่างกาย และทำงานการทำงานของปอด

ที่มา: kapook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น